THAITOPO บอร์ดแสดงวิสัยทัศน์ด้านGIS 2006-2017
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ดาวเทียม "ธีออส"

Go down

ดาวเทียม "ธีออส" Empty ดาวเทียม "ธีออส"

ตั้งหัวข้อ by thaitopo Tue Aug 05, 2008 12:48 pm

The Thai Earth Observation System

ดาวเทียม "ธีออส" THEOS_1
ดาวเทียม "ธีออส" Blankดาวเทียม "ธีออส" Blank

ระบบดาวเทียม
ดาวเทียมธีออส ถูกออกแบบให้เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก มีอายุการใช้งานอย่างน้อย 5 ปี ทำงานโดยอาศัย แหล่งพลังงาน จากดวงอาทิตย์ สามารถถ่ายภาพได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก ติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพแบบออฟติคคอล ( Optical Imagery) ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลภาพ ในช่วงคลื่นแสงที่ตามองเห็น (Visible band) จนถึงช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ ( Near Infrared) ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบช่วงคลื่นของดาวเทียมธีออสกับดาวเทียม อื่นๆ พบว่า 3 ช่วงคลื่นของดาวเทียมธีออส มีความคล้ายคลึงกับช่วงคลื่นของดาวเทียม Spot ยกเว้นช่วงคลื่น สีน้ำเงิน ที่มีเพิ่มมากกว่าของดาวเทียม Spot และมีความคล้ายคลึงกันกับช่วงคลื่นของดาวเทียม Landsat TM ดาวเทียม "ธีออส" THEOS%20Front_c

รายละเอียดเชิงเทคนิค
น้ำหนัก : เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก (Small Satellite) น้ำหนัก ประมาณ 750 กิโลกรัม (น้ำหนักรวมกล้องถ่ายภาพ และเชื้อเพลิงขับดัน)
รูปทรง : รูปกล่องหกเหลี่ยมสูงประมาณ 2.4 เมตร กว้างประมาณ 2 เมตร (เมื่อพับแผงเซลแสงอาทิตย์)
วงโคจร : สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ ที่ความสูง 822 กิโลเมตร , มีทิศทางการโคจรจากเหนือลงใต้ ทำมุมเอียง 98 องศา กับระนาบเส้นศูนย์สูตร และจะผ่านเส้นศูนย์สูตร ที่ เวลาประมาณ 10:00 น.
รอบการโคจร : โคจรครบ 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 101.4 นาที ซึ่งใน 1 วันจะดาวเทียมจะมีรอบการโคจรทั้งสิ้น 14 +5/26 รอบPayload : กล้องถ่ายภาพขาว - ดำ ( Panchromatic : PAN) , และกล้องถ่ายภาพสีหลายช่วงคลื่น ( Multispectral : MS) ซึ่งสามารถถ่ายภาพในช่วงคลื่นแสงที่ตามองเห็น (Blue, Green, Red) และช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ (NIR)
รายละเอียดภาพ : ที่มุมเอียงไม่เกิน 30องศาจากแนวดิ่ง PAN ( ขาวดำ) 2 เมตร , MS ( สี) 15 เมตร
ความกว้างภาพถ่าย : PAN 22 กิโลเมตร , MS 90 กิโลเมตรพิกัดในการเอียงตัวของดาวเทียมเพื่อการถ่ายภาพ : ก้ม / เงย 45 องศา ; ซ้าย / ขวา 50 องศา
อายุการใช้งาน : อย่างน้อย 5 ปี ดาวเทียม "ธีออส" 551000009929201
ภาพการลำเลียงดาวเทียมธีออสสู่ฐานปล่อยจรวดที่รัสเซีย (ภาพจากแฟ้ม/สทอภ.)


แก้ไขล่าสุดโดย thaitopo เมื่อ Tue Aug 05, 2008 1:22 pm, ทั้งหมด 5 ครั้ง
thaitopo
thaitopo
Admin

จำนวนข้อความ : 1571
: 30
Localisation : chiengmai
Registration date : 24/10/2006

http://thaitopo.PAGE.TL

ขึ้นไปข้างบน Go down

ดาวเทียม "ธีออส" Empty Re: ดาวเทียม "ธีออส"

ตั้งหัวข้อ by thaitopo Tue Aug 05, 2008 12:53 pm

ลุ้นอีกทีดาวเทียม "ธีออส" ขึ้นฟ้า 6 ส.ค.นี้
ดาวเทียม "ธีออส" Blank
โดย ผู้จัดการออนไลน์4 สิงหาคม 2551 23:40 น.
ลุ้นกันมานานว่า "ธีออส" จะได้ขึ้นฟ้าเมื่อไร หลังเลื่อนมาหลายครั้งหลายครา ล่าสุด "สทอภ." ส่งสัญญาณว่า ดาวเทียมดวงแรกของไทย "ได้ขึ้นฟ้าแน่" โดยร่อนแฟกซ์เชิญนักข่าว ร่วมงานส่งดาวเทียมที่สถานีรับสัญญาณศรีราชา ชมถ่ายทอดสดจากฐานปล่อยจรวดที่รัสเซีย

หลังจากได้รับโทรสาร (แฟกซ์) จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ.ที่ส่งมาในช่วงหัวค่ำของวันที่ 4 ส.ค.51 ให้ร่วมทำข่าวการส่งดาวเทียมธีออส (Theos) ขึ้นสู่วงโคจร ในวันที่ 6 ส.ค.นี้ เวลา 11.00-15.30 ณ สถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมธีออส อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ผู้จัดการวิทยาศาสตร์จึงได้สอบทราบความพร้อม ไปยัง ผอ.สทอภ. ถึงความแน่นอนล่าสุด ในการส่งดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ที่ได้รับการการันตีว่าเป็นดวงแรกของไทย

จะมีการส่งดาวเทียมธีออสวันที่ 6 ส.ค.นี้อย่างแน่นอน โดยจะส่งในเวลา 13.37 น. (ตามเวลาประเทศไทย) จากฐานปล่อยจรวดยัสนี (Yahni) ชายแดนประเทศรัสเซีย

ในส่วนของคุณสมบัตินั้น ธีออสเป็นดาวเทียมขนาดเล็กมีน้ำหนัก 750 กิโลกรัม และมีระยะห่างจากโลกเมื่อส่งขึ้นไปโคจรที่ระดับ 822 กิโลเมตร โคจรรอบโลกทั้งสิ้น 369 วงโคจร ซึ่งระยะทางระหว่างวงโคจรแต่ละวงเท่ากับ 105 กม. โดยจะโคจรมาที่จุดเดิมทุกๆ 26 วัน และสามารถถ่ายภาพได้ครอบคลุมทั่วโลก บันทึกภาพด้วยระบบเดียวกับกล้อง (Optical System) ความละเอียดของภาพขาวดำ 2 เมตร และมีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี.
thaitopo
thaitopo
Admin

จำนวนข้อความ : 1571
: 30
Localisation : chiengmai
Registration date : 24/10/2006

http://thaitopo.PAGE.TL

ขึ้นไปข้างบน Go down

ดาวเทียม "ธีออส" Empty Re: ดาวเทียม "ธีออส"

ตั้งหัวข้อ by thaitopo Tue Aug 05, 2008 1:03 pm

คุณสมบัติของ THEOS

THEOS (Thailand Earth Obser-vation Satellite) ได้รับการออกแบบให้มีอายุการใช้งานอย่างน้อย 5 ปี (Design Life) เช่นเดียวกับดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LEO : Low Earth Orbit) แต่อาจมีอายุการใช้งานได้นานกว่าที่ออกแบบไว้ สามารถสำรวจได้ครอบคลุมทั่วโลก บันทึกข้อมูลได้ทั้งในช่วงที่คลื่นตามองเห็น (Visible) สามช่วงคลื่น คือ ช่วงคลื่นแสง สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน และช่วงคลื่น อินฟราเรดใกล้ (Near Infrared) การโคจรของดาวเทียม ขณะอยู่ในช่วงที่มีแสงสว่างจะมีอุณหภูมิสูงประมาณ 200 องศาเซลเซียส ในขณะที่โคจรกลับมาทางด้านมืดจะมีอุณหภูมิต่ำประมาณ -200 องศาเซลเซียส ส่วนประกอบของดาวเทียมจึงต้องมีสภาพทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ดังนั้น จึงใช้ส่วนประกอบที่ผลิตจาก Silicon Carbide ซึ่งมี คุณสมบัติเหมาะสมต่อการทนสภาพอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง

ดาวเทียม THEOS มีน้ำหนัก 750 กิโลกรัม โคจร ในระดับความสูง 822 กิโลเมตร ซึ่งเป็นวงโคจรเดียวกับ ดาวเทียม SPOT มีระบบการบันทึกภาพสองระบบ คือ Panchromatic กับระบบ Multispectral โดย Panchromatic จะเป็นระบบที่แสดงภาพเป็นขาว-ดำ รายละเอียดภาพสองเมตร ความกว้างแนวถ่ายภาพ 22 กิโลเมตร ส่วน Multispectral จะแสดงเป็นภาพสี รายละเอียดภาพ 15 เมตร ความกว้างของแนวถ่ายภาพ 90 กิโลเมตร On-board Memory ที่ 51 GB ในกรณีที่ดาวเทียมโคจร ไปในจุดที่ไม่มีสถานีรับสัญญาณก็สามารถที่จะเก็บภาพไว้บนตัวดาวเทียม ซึ่งสามารถเก็บได้ถึง 100 ภาพ

ดาวเทียม "ธีออส" THEOS_2

ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งของดาวเทียม THEOS คือ สามารถเอียงกล้องได้ ซึ่งต่างจากดาวเทียม LANDSAT โดยดาวเทียมรุ่นใหม่ เช่น SPOT-5, IKONOS และ QUICKBIRD รวมถึงดาวเทียม THEOS เอง สามารถที่จะ เอียงกล้องได้ ประโยชน์ของการเอียงกล้องได้ ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่ดาวเทียมโคจรมาอยู่เหนือประเทศไทย แต่ประเทศพม่ามีความต้องการที่จะถ่ายภาพในพื้นที่ของประเทศพม่าเอง ก็สามารถที่จะเอียงกล้องให้ถ่ายภาพในบริเวณที่ต้องการได้ หรือกรณีเกิดภัยพิบัติขึ้นและต้องการข้อมูลด่วน ก็สามารถ เอียงกล้องไปยังจุดที่เกิดเหตุได้มากที่สุด (Maximum) 50 องศา

ดาวเทียม "ธีออส" THEOS_4

THEOS satellite
Total mass750 kg
Dimensions2.1 x 2.1 x 2.4 m
Solar array800 W
Nominal lifetime5 years
Hydrazine80 kg
Recording capacity40 Gbit Solid-state memory
Onboard image processing2.8 or 3.7 compression ratio (DCT)
Image telemetry120 Mbit/s (X band)
Altitude controlEarth pointing and high agility
Orbit determinationGPS
Payload1 PAN and 1 MS cameras
OrbitSun-synchronous 14+5/26 orbits per day
Inclination98.7 degree
Altitude at equator832 km
Period101.4 min
Local equator crossing time10:00 am (descending)
Sub-satellite point velocity6.6 km/s
จุดสร้างสถานีรับกระจายอยู่ทั่วโลก

ดาวเทียม THEOS ไม่ได้ถ่ายภาพเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังถ่ายภาพจากทั่วโลก ลักษณะใกล้เคียงกับ ดาวเทียม SPOT ซึ่งสถานีรับของดาวเทียม SPOT นั้นมีอยู่ทั่วโลก บางแห่งเราอาจจะใช้สถานีรับของ SPOT แต่บางแห่ง เราอาจจะขอเจรจากับประเทศต่างๆ เพื่อตั้งสถานีรับขึ้นเอง ในประเทศไทยมีโครงการจะดำเนินการสร้างที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และจะมีการดำเนินการสร้างสถานีเพิ่มขึ้นอีก ในหลายๆ จุดทั่วโลก เช่น ที่ Prince Rupert ในประเทศแคนาดา ใน Alaska ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ในบริเวณขั้วโลกสามารถรับข้อมูลจาก ดาวเทียมได้บ่อยครั้ง และลงไปทางอเมริกาใต้ ที่กรุง Rio De Janeiro ประเทศบราซิล เมือง Toulouse ประเทศฝรั่งเศส ที่คิลูน่า ขั้วโลกเหนือ ซึ่งดาวเทียมทุกดวงจะต้องสร้างสถานีรับ ฮาโกยาม่า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกำลัง อยู่ในขั้นเจรจา เนื่องจากทางญี่ปุ่นเองก็ต้องการรับสัญญาณจากดาวเทียมดวงนี้เช่นกัน และ Canberra เนื่องจากเป็นจุดรับสัญญาณได้ดี

การควบคุมดาวเทียม THEOS จะใช้กลุ่มวิศวกรของ สทอภ. จำนวน 20 คน ที่ได้รับการฝึกอบรมการออกแบบ การทดสอบ พร้อมปฏิบัติงานจริง เพื่อสร้างดาวเทียม THEOS ร่วมกับวิศวกรของบริษัท EADS Astrium ณ เมือง Toulouse เป็นเวลา 30 เดือน วิศวกร กลุ่มนี้จะปฏิบัติงานที่สถานีรับสัญญาณและ สถานีควบคุมดาวเทียม THEOS ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภายใต้การกำกับดูแล ของ สทอภ.

ดาวเทียม "ธีออส" THEOS_3
thaitopo
thaitopo
Admin

จำนวนข้อความ : 1571
: 30
Localisation : chiengmai
Registration date : 24/10/2006

http://thaitopo.PAGE.TL

ขึ้นไปข้างบน Go down

ดาวเทียม "ธีออส" Empty Re: ดาวเทียม "ธีออส"

ตั้งหัวข้อ by thaitopo Tue Aug 05, 2008 1:03 pm

ประโยชน์และความคุ้มค่า

ข้อมูลต่างๆ จากดาวเทียม THEOS สามารถนำมา ใช้ประโยชน์ในการสำรวจหาข้อมูลและทำแผนที่เพื่อการ จัดการบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ ประเทศไทยได้เป็นอย่างดี เช่น การสำรวจหาชนิดของ พืชผลการเกษตร การประเมินหาผลผลิตทางการเกษตร การสำรวจหาพื้นที่ป่าที่เหลืออยู่ การสำรวจหาพื้นที่ป่าไม้ ที่ถูกบุกรุกทำลาย การประเมินหาพื้นที่ป่าถูกไฟไหม้ การสำรวจหาพื้นที่สวนป่า การสำรวจหาชนิดป่า การสำรวจ หาพื้นที่ที่ทำนากุ้งและประมงชายฝั่ง การสำรวจหา มลพิษจากคราบน้ำมันในทะเล การสำรวจหาแหล่งน้ำ การสำรวจแหล่งชุมชน การสำรวจหาพื้นที่ปลูกฝิ่น การวางผังเมือง การสร้างถนน และการวางแผนจราจร การทำ แผนที่ การสำรวจหาพื้นที่เกิดอุทกภัย การสำรวจหาพื้นที่ แผ่นดินถล่ม และสำรวจหาพื้นที่ที่ประสบภัยสึนามิ (Tsunami) เป็นต้น

ประเทศไทยยังได้รับสิทธิในการรับสัญญาณจาก ดาวเทียม SPOT-2, 4 และ 5 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ภายใต้สัญญาสร้างดาวเทียม THEOS ประเทศฝรั่งเศสจะปรับปรุงสถานีรับสัญญาณดาวเทียมของไทยให้สามารถรับสัญญาณจากดาวเทียม SPOT ได้ และให้สิทธิในการรับสัญญาณ ดาวเทียม SPOT-2, 4 และ 5 เพื่อให้หน่วยงานราชการ ได้ใช้ประโยชน์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้แต่ละหน่วยงาน นำไปใช้ประโยชน์ตามภารกิจของหน่วยงาน

ดาวเทียม "ธีออส" THEOS_5

การบริการข้อมูล & ผลิตภัณฑ์ดาวเทียม THEOS

สำหรับการบริการข้อมูลดาวเทียม THEOS ในประเทศไทย จะไม่คิดค่าข้อมูลในการบริการแก่หน่วยงานต่างๆ แต่จะคิดเฉพาะค่าวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตเท่านั้น ซึ่งมีราคาต่ำมาก

ดาวเทียม THEOS สามารถผลิตข้อมูลได้ทั้งภาพ ขาว-ดำ และภาพสี ซึ่งภาพขาว-ดำอาจเติมสีได้ โดยใช้วิธีปรับความคมชัด (Pan Sharpening Method) และดาวเทียมสามารถประมวลผลได้หลายระดับ ดังนี้

ระดับ 1A เป็นระดับที่มีการแก้ไขความบิดเบือน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เนื่องจากความไม่สม่ำเสมอของอุปกรณ์บันทึกภาพ เหมาะกับผู้ใช้ที่ต้องการแก้ไขเรขาคณิตด้วย ตัวเอง

ระดับ 2A มีการแก้ไขทางเรขาคณิตเนื่องจากตัวระบบ เช่น ผลจากการถ่ายภาพแนวกว้าง ความโค้งและการหมุนของโลก ฯลฯ สามารถแก้ไขความบิดเบือนภายในของข้อมูลภาพ โดยใช้ข้อมูลระยะ มุม พื้นผิว ของบริเวณ Projection ของภาพ ได้แก่ UTM WGS 84 โดยไม่ใช้ Ground Control Point และใช้แบบจำลองภูมิประเทศเพื่อแสดงความสูงเหนือ Ellipsoid อ้างอิง

ทั้งนี้ ดาวเทียม THEOS สามารถประมวลผลระดับ 2A ได้กว่า 30 ภาพ/วัน และใช้เวลาในการประมวลผล น้อยกว่า 30 นาทีต่อหนึ่งซีน

ระดับ 2B เป็นแผนที่ซึ่งมี Projection และ Ground Control Point จากแผนที่อื่นหรือวัดค่า GPS (Global Positioning System) เป็นการแก้ไขระดับความสูงเฉลี่ย โดยใช้ Projection และแผนที่มาตรฐานข้อมูลระดับนี้ เหมาะกับการใช้งานที่พื้นที่ผิวบริเวณนั้นมีการเปลี่ยนแปลง ไม่มากนัก

หลายประเทศสนใจข้อมูลจาก THEOS

ขณะนี้มีหลายประเทศที่มีความสนใจติดต่อขอรับสัญญาณจากดาวเทียม THEOS เช่น ประเทศฝรั่งเศส ที่เป็นผู้สร้างดาวเทียมนี้ เนื่องจากดาวเทียม THEOS มีค่าความชัดถึงสองเมตร ดีกว่าดาวเทียม SPOT-5 ของฝรั่งเศสเองที่มีค่าความชัดเพียง 2.5 เมตร และยังมีประเทศญี่ปุ่น ประเทศออสเตรเลีย ประเทศแคนาดาและประเทศอิหร่าน ที่ให้ความสนใจขอรับสัญญาณเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ ดาวเทียม LANDSAT ของสหรัฐอเมริกาก็กำลังจะหมดอายุและยังไม่มีโครงการที่จะส่งดาวเทียมในโครงการ LANDSAT ดวงอื่น ๆ ไปทดแทน ประเทศต่างๆ จึงกำลังหาดาวเทียม ที่มีประสิทธิภาพดีและมีราคาข้อมูลที่ไม่แพงมากนักมาใช้แทน ซึ่งดาวเทียม THEOS เองก็ตอบสนองความต้องการของประเทศต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

โครงการในอนาคตจากการใช้ข้อมูลดาวเทียม

ในอนาคตทาง สทอภ.จะร่วมมือกับฝรั่งเศสทำโครงการ Pilot Project เพื่อประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียม THEOS ใน 4 สาขา คือ การจัดการป่าไม้ การจัดการแหล่งน้ำ การเกษตรและการทำแผนที่ โดยเฉพาะการทำแผนที่ซึ่งประสบปัญหาค่อนข้างมาก เนื่องจากผู้ที่ทำแผนที่มีกัน หลายคน แต่เมื่อนำมารวมกันปรากฏว่าแผนที่ที่ได้มีหลายจุดที่คลาดเคลื่อน ไม่ตรงกัน แต่ถ้าสามารถนำเอาข้อมูลที่ทันสมัย มาใช้ในการทำแผนที่ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำแล้ว ก็จะเป็นการสนองนโยบาย ของรัฐบาล ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาความยากจน การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลกัน การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การ ต่างประเทศ การพัฒนากฎหมาย การ ส่งเสริมประชาธิปไตย การรักษาความ มั่นคงของรัฐ การพัฒนาคนและสังคม ที่มีคุณภาพ

ชื่อผู้เขียน : ศันสนีย์ วิมลประดิษฐ์

ที่มาhttp://www.engineeringtoday.net/magazine/articledetail.asp?arid=3065&pid=301
thaitopo
thaitopo
Admin

จำนวนข้อความ : 1571
: 30
Localisation : chiengmai
Registration date : 24/10/2006

http://thaitopo.PAGE.TL

ขึ้นไปข้างบน Go down

ดาวเทียม "ธีออส" Empty Re: ดาวเทียม "ธีออส"

ตั้งหัวข้อ by thaitopo Tue Aug 05, 2008 1:18 pm

ดาวเทียม "ธีออส" Theos
thaitopo
thaitopo
Admin

จำนวนข้อความ : 1571
: 30
Localisation : chiengmai
Registration date : 24/10/2006

http://thaitopo.PAGE.TL

ขึ้นไปข้างบน Go down

ดาวเทียม "ธีออส" Empty Re: ดาวเทียม "ธีออส"

ตั้งหัวข้อ by thaitopo Wed Aug 06, 2008 11:34 am

เลื่อนส่ง "ธีออส" ไม่มีกำหนด!! (อีกแล้ว)
ดาวเทียม "ธีออส" Blank
โดย ผู้จัดการออนไลน์6 สิงหาคม 2551 09:00 น.
thaitopo
thaitopo
Admin

จำนวนข้อความ : 1571
: 30
Localisation : chiengmai
Registration date : 24/10/2006

http://thaitopo.PAGE.TL

ขึ้นไปข้างบน Go down

ดาวเทียม "ธีออส" Empty Re: ดาวเทียม "ธีออส"

ตั้งหัวข้อ by thaitopo Thu Oct 16, 2008 9:45 pm

สทอภ.เผย อาจต้องจ่ายค่าเช่าที่ สถานีรับสัญญาณ "ธีออส" 37 ล้าน แจงไม่เคยทราบมาก่อน เจ้าหน้าที่เพิ่งแจ้งเมื่อ 3 ต.ค.51 แต่เชื่อคุยกันได้ระหว่างหน่วยงานราชการด้วยกัน พร้อมเผย ยูเครนสนใจตั้งฐานปล่อยจรวดที่ภาคใต้ แต่เรื่องได้ตกไปเพราะต้นทุนสูง และอาจเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) ต้อนรับ นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณะและสื่อมวลชน ซึ่งเดินทางไปตรวจเยี่ยมสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมธีออส อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เมื่อ 15 ต.ค.51 โอกาสนี้ผู้จัดการวิทยาศาสตร์จึงได้ร่วมเดินทางไปเยี่ยมชมสถานีรับสัญญาณแห่งใหม่ของ สทอภ.ด้วย

ดร.ธงชัย จารุพพัฒน์ ผอ.สทอภ. กล่าวถึงความคืบหน้าของดาวเทียมธีออส ที่ส่งขึ้นสู่วงโคจรไปเมื่อวันที่ 1 ต.ค.51 ที่ผ่านมาว่า ขณะนี้ดาวเทียมประทับวงโคจรที่ระดับ 822 ก.ม. และอยู่ระหว่างปรับวงโคจรให้นิ่ง โดยคาดว่าจะใช้เวลาอีก 10 วันจึงจะเริ่มบันทึกภาพ เพื่อปรับเทียบมาตรฐานกับภูมิศาสตร์ต่างๆ ของโลกได้

"เมื่อวันที่ 6 ส.ค.51 ผมมั่นใจว่า จะส่งดาวเทียมได้ แต่ก็ส่งไม่ได้ พอถึงวันที่ 1 ต.ค. ผมไม่มั่นใจเลยว่าจะยิงได้ แต่กลับยิงได้ เมื่อวันที่ 6 ส.ค.เราเตรียมเลี้ยงฉลองการส่งดาวเทียม จ้างโรงแรมจัดเลี้ยงหมดไปเป็นล้าน แต่ยิงไม่ได้ วันที่ 1 ต.ค.เราเลยไม่บอกให้สื่อมวลชน เพราะกลัวหน้าแตกอีก" ดร.ธงชัยย้ำ เหตุผลที่ไม่แจ้งล่วงหน้า ว่าจะส่งดาวเทียมธีออส ระหว่างกล่าวรายงานรัฐมนตรี

สำหรับสถานีรับสัญญาณดาวเทียมธีออส ตั้งอยู่บนพื้นที่ "ราชพัสดุ" โดยมีพื้นที่ 120 ไร่ และขณะนี้ได้ก่อสร้างอาคารสำหรับควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมธีออส พร้อมจานรับสัญญาณย่าน "เอกซ์-แบนด์" (X-Band) ที่มีความถี่ 8 กิกะเฮิร์ตซ์ และจานรับสัญญาณย่าน "เอส-แบนด์" (S-Band) ที่มีความถี่ 2 กิกะเฮิร์ตซ์ แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถรับสัญญาณย่านเอกซ์-แบนด์ได้ โดยมีสถานีรับสัญญาณดาวเทียมลาดกระบังทำหน้าที่สำรองในการรับและแปรสัญญาณ

เหตุผลที่ต้องสร้างสถานีรับสัญญาณขึ้นใหม่นั้น ดร.ธงชัยกล่าวว่า เป็นเรื่องเร่งด่วน เนื่องจากสถานีรับสัญญาณที่ลาดกระบังนั้น อาจถูกรบกวนจากสัญญาณเรดาห์ของสนามบินสุวรรณภูมิ และขณะนั้น กำลังจะส่งดาวเทียมธีออสแล้ว จึงจำเป็นต้องมีสถานีควบคุมดาวเทียมใหม่ ซึ่งมี 3 ทางเลือกสำหรับสร้างสถานีรับสัญญาณคือ 1.พื้นที่ทหารใน จ.ฉะเชิงเทรา 2.เทคโนธานี จ.ปทุมธานี และ 3.พื้นที่ราชพัสดุใน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งสุดท้ายลงตัวที่ชลบุรี

"ตอนนั้น จ.ชลบุรี อนุญาตให้สร้าง แต่เมื่อวันที่ 3 ต.ค.เขาแจ้งว่าต้องจ่ายค่าเช่า 30 ปี 18 ล้านบาท พร้อมค่าธรรมเนียมอีก 18 ล้านบาท และค่ารังวัดอีก 1 ล้านบาท ก็เพิ่งทราบ นึกว่าได้อยู่ฟรี" ดร.ธงชัยกล่าว และบอกกับผู้จัดการวิทยาศาสตร์ในภายหลังอีกด้วยว่า อยู่ระหว่างการเจรจาต่อรอง คาดว่าระหว่างหน่วยงานราชการด้วยกันไม่น่าจะมีปัญหา

นอกจากนี้ ผอ.สทอภ.ยังได้กล่าวถึงรายได้ ที่จะได้รับจากดาวเทียมธีออสว่า ภาพถ่ายดาวเทียมที่จำหน่ายในประเทศ ให้แก่ทั้งหน่วยงานราชการและเอกชน ในราคาภาพละ 5,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่คิดเฉพาะค่าวัสดุ แต่ไม่คิดค่าข้อมูล

ส่วนต่างประเทศจะขายภาพละ 1.35 แสนบาท และหากประเทศใดสนใจตั้งสถานีรับสัญญาณธีออส ต้องลงทุน 1 ล้านยูโรหรือประมาณ 50 ล้านบาท ซึ่งไทยจะได้ส่วนแบ่งจากค่าตั้งสถานีประมาณ 10 ล้านบาท และรายได้จากค่าสัญญาณวินาทีละ 1,866 บาท ซึ่ง 15,000 วินาทีจะมีรายได้ 28 ล้านบาท

พร้อมกันนี้ ดร.ธงชัยเผยด้วยว่า ยูเครนมีความสนใจสร้างฐานปล่อยจรวดดาวเทียมที่ จ.สุราษฎร์ธานี และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ติดทะเล ทำให้เป็นปัญหาเรื่องชิ้นส่วนจรวดตกลงพื้นดิน และใกล้เส้นศูนย์สูตร ซึ่งเหมาะแก่การส่งดวเทียมเข้าวงโคจรได้ง่าย แต่เรื่องนี้ก็ได้จบไปแล้ว เพราะมีค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งยังอาจมีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย

ด้านนายวุฒิพงศ์ กล่าวกับสื่อมวลชนว่า ได้มอบภารกิจให้ สทอภ.เผยแพร่ภาพแอนิเมชันการปล่อยดาวเทียม เพื่อให้ประชาชนและเยาวชนได้เรียนรู้ฟิสิกส์ เรื่องการโคจรของจรวดและการหนีแรงโน้มถ่วง รวมถึงการทำภาพ 3 มิติของพื้นที่สูง-ต่ำเพื่อจัดทำพื้นที่การไหลของน้ำ สำหรับการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำและกำหนดพื้นที่ปลูกป่าด้วย.
thaitopo
thaitopo
Admin

จำนวนข้อความ : 1571
: 30
Localisation : chiengmai
Registration date : 24/10/2006

http://thaitopo.PAGE.TL

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ